วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

sky buffet หรือ บุเฟ่ต์ ลอยฟ้า หาดใหญ่


sky buffet หรือ บุเฟ่ต์ ลอยฟ้า หาดใหญ่ ตั้งอยู่ชั้น 333 โรงแรม
ลีการ์เด้น พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา


วิวเมืองหาดใหญ่
โรงแรมโนโวเทล

นี่คือตึกที่สูงที่สุดของหาดใหญ่ (ตึกนภาลัย)

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

สงขลา

ผ้าทอเกาะยอ
       สถานที่น่าสนใจ
     
       อำเภอเมือง
       

       อำเภอเมือง ไม่เป็นศูนย์กลางทางการค้าเหมือนกับอำเภอหาดใหญ่ แต่เป็นอำเภอที่มีความการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย เมืองค่อนข้างจะเงียบ มีตึกเก่าโบราณที่ยังคงความสมบูรณ์สร้างแบบชิโน-โปรตุกีส เหมือนในจังหวัดภูเก็ตตามถนนนครใน นครนอก นางงาม และยะลา มี ศาลหลักเมือง ที่เก่าแก่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมืองสงขลา อยู่ที่ถนนนางงาม และที่ถนนนางงามยังเป็นถนนที่มีอาหารพื้นเมืองและขนมไทย ๆ ฝีมือชาวบ้านให้ได้ชิมและหาซื้อเป็นของฝาก เช่นขนมสำปะนี ขนมทองม้วน ขนมทองพลับ หรือแม้แต่เต้าฮวย ที่ขายมากว่า 50 ปี ก็มีให้ได้รับประทานกัน อยู่ตรงข้ามศาลหลักเมือง และยังมีข้าวสตู ฝีมือดั้งเดิมให้ได้ลิ้มลองอีกด้วย
     
       เกาะยอ เป็นเกาะเล็ก ๆ ในทะเลสาบสงขลา เดินทางโดยข้ามสะพานติณสูลานนท์ ไปตามเส้นทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 407 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 4083 ทางไปอำเภอสิงหนคร เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอมีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะกินสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย
     
       เขาเก้าเส้ง ห่างจากหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางไปสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ มีตำนานเล่าถึงเขาเก้าเส้ง หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า “หัวนายแรง” ว่า “ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช
     
       ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า “เขาเก้าแสน” เรียกเพี้ยนไปเป็น “เก้าเส้ง”ก้อนหินที่ปิดทับบนยอดเขาเรียกว่า“หัวนายแรง” ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญานของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุกวันนี้”



เขาตังกวน
       เขาตังกวน บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมืองสงขลา ซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวารวดี ในเดือนตุลาคมของทุกปีจะมีพิธีห่มผ้าองค์เจดีย์ ประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว และยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาและทะเลสาบสงขลาได้ และก่อนถึงยอดเขาตังกวนจะมีศาลาวิหารแดง (พลับพลาที่ประทับ) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคีรี (ชม) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในสมัยนั้น สร้างพลับพลานี้ถวายตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2431
     
       เขาน้อย อยู่ใกล้กับแหลมสมิหลา มีถนนลาดยางขึ้นสู่ยอดเขาเพื่อสักการะอนุสาวรีย์กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และชมทิวทัศน์ของเมืองสงขลา เชิงเขาน้อยเป็นสวนสาธารณะมีไม้ประดับตกแต่งเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ไว้ให้ชมและเป็นที่พักผ่อน
     
       เจดีย์วัดพระบรมธาตุชัยมงคล อยู่ภายในบริเวณวัดชัยมงคล ถนนเพชรมงคล-ชัยมงคล เมื่อ พ.ศ. 2435 พระอาจารย์สอนบาลีในวัดชัยมงคลนามว่า “นะ อิศโร” เดินทางไปลังกาและมีโอกาสรู้จักกับคหบดีผู้หนึ่งซึ่งยินดีถวายพระธาตุให้แก่ท่านนะ อิศโรอธิษฐาน เมื่อกลับมาสงขลาท่านได้สร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมธาตุให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะจนถึงทุกวันนี้ บริเวณพระบรมธาตุ จะเปิดให้เข้าชมเวลา 9.00–17.00 น.



พิพิธภัณฑ์พระธำมะรงค์
       ตำหนักเขาน้อย ตั้งอยู่เชิงเขาน้อยทางทิศใต้ ถนนสะเดา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2454 เพื่อเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้ายุคลฆัมพร (กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์) เมื่อครั้งมาดำรงตำแหน่งสมเด็จอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ เคยใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถฯ ในคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดภาคใต้ เมื่อเดือนมีนาคม 2502 ปัจจุบันใช้เป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัด
     
       ทะเลสาบสงขลา เป็นทะเลสาบธรรมชาติแห่งเดียวในประเทศไทย มีความยาวจากปากน้ำไปทางทิศเหนือประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดประมาณ 20-25 กิโลเมตร ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบน้ำจืด แต่จะกร่อยในช่วงที่ติดกับทะเล ตรงปากอ่าวในทะเลสาบมีเกาะอยู่หลายเกาะ ที่สำคัญได้แก่ เกาะใหญ่ เกาะสี่ เกาะห้า เกาะแก้ว เกาะหมาก เกาะราย และเกาะยอ นักท่องเที่ยวที่อยากจะเช่าเรือเที่ยวตามเกาะต่าง ๆ สามารถเช่าเรือได้บริเวณแหลมสนอ่อน
     
       บ้านศรัทธา เป็นบ้านที่ชาวสงขลาพร้อมใจกันสร้างเพื่อมอบให้กับ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ในสมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2534 ต่อมาท่านได้มอบบ้านศรัทธานี้คืนให้กับชาวสงขลาเมื่อปี 2539 พร้อมกันนี้ทางจังหวัดสงขลาได้จัดสร้างอาคารหอสมุดกาญจนาภิเษกขึ้น ตรงเชิงเขาใกล้กับบ้านศรัทธาและเปิดเป็นที่ศึกษาค้นคว้า บ้านศรัทธาตั้งอยู่บนเนินเขา รายรอบด้วยสวนมะพร้าว สามารถมองเห็นทัศนียภาพถึงสะพานติณสูลานนท์ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
       พิพิธภัณฑ์พระธำมะรงค์ ตั้งอยู่ที่ถนนจะนะใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งบ้านพักเดิมของรองอำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) บิดาของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พิพิธภัณฑ์ฯ เป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยที่สร้างขึ้นเพื่อจำลองสถานที่เกิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษซึ่งเป็นชาวจังหวัดสงขลา จากคำบอกเล่าความทรงจำในอดีตสมัยที่บิดาของท่านดำรงตำแหน่งพัสดีเรือนจำสงขลา
     
       “พะทำมะรง” เป็นตำแหน่งเก่าของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีควบคู่กับตำแหน่งพัสดีปรากฎหลักฐานอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และอัยการลักษณะต่าง ๆ ตำแหน่งพะทำมะรงได้ใช้ติดต่อกันมาตลอดจนได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ตำแหน่งพะทำมะรงจึงได้ถูกยกเลิกไป พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวันเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30-16.00 น.
     
       พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ตั้งอยู่ที่ถนนวิเชียรชม เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน อายุกว่า 100 ปี เดิมเป็นบ้านพักส่วนตัวของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2421 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 จึงใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการของพระวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ซึ่งต่อมาก็คือเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นใช้เป็นศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราชและเป็นศาลากลางจังหวัดจนถึงปี พ.ศ. 2496
     
       ในปี พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคารนี้เป็นโบราณสถานและปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2525 ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปวัตถุภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ ชาติพันธุ์วิทยา ศิลปะจีน ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง อาทิ บานประตูไม้เดิมของจวน เป็นศิลปะพุทธศตวรรษที่ 24 ทำด้วยไม้จำหลักเขียนสีและประดับมุกฝีมือช่างชาวจีนชั้นครู แสดงออกถึงคตินิยมในธรรมเนียมประเพณี วรรณคดี ศาสนาตามแบบจีนที่วิจิตรงดงามยังความสมบูรณ์อยู่มาก โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีจากบ้านเชียง และกาญจนบุรี เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 7431 1728

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

hatyai shopping






ศูนย์ shopping หาดใหญ่ที่สำคัญมีอยู่ 3 ที่ได้แก่
  
- สาย2 > ย่านสันติสุข กิมหยง

- สาย3 > สันสันติสุข ย่านโอเดียน

- ถนนเสน่หานุสรณ์ > ย่านลีการ์เด้นพลาซ่า เซ็นทรัล



อยากเห็นทะเลหมอกไม่ต้องไปถึงเหนือ



ทะเลหมอกที่หาดใหญ่บนเขาคอหงส์